วันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ชนิดของ Nouns






คำนาม (nouns) เป็นคำที่ใช้เรียกชื่อของสิ่งต่าง ๆ อาทิชื่อบุคคล สถานที่ สิ่งต่าง ๆ แนวคิด หรือคุณภาพเช่น Somsak, Doi Sutep, Bangkok, table, freedom, goodness ฯลฯ คำนามอาจแบ่งเป็นชนิดต่าง ๆ ตามลักษณะสำคัญได้ 3 แบบ คือ
1. นามที่แบ่งโดยคำนึงถึงความหมาย นามลักษณะนี้จำแนกได้ 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ
1.1 Proper nouns (นามจำเพาะเจาะจง) เป็นนามที่ใช้เรียกชื่อเฉพาะของบุคคล
สถานที่หรือสิ่งต่าง ๆ ข้อสังเกตคือ นามชนิดนี้ขึ้นต้นด้วยอักษรใหญ่ เช่น Pichet, Rincome Hotel, China, Asia, Songkran Day
1.2 Common nouns (นามทั่วไป) เป็นนามที่มิได้เจาะจงถึงบุคคล
สถานที่หรือกล่าวง่าย ๆ คือเป็นนามที่ใช้เรียกชื่อบุคคล สถานที่
หรือสิ่งของโดยทั่ว ๆ ไป เช่น man, city, doctor ฯลฯ
นามชนิดนี้สามารถจำแนกแยกย่อยได้ 3 ชนิดคือ
1.2.1 Concrete nouns (นามรูปธรรม) เป็นนามที่ใช้เรียกชื่อสิ่งต่าง ๆ
ที่สามารถเห็นได้ ได้ยิน ได้กลิ่น สัมผัสหรือลิ้มรสได้
เช่น apple, candle, table, radio ฯลฯ
1.2.2 Mass nouns (นามมวล) แยกกล่าวได้ 3 กลุ่มใหญ่ คือ
(1) นามมวลที่นับไม่ได้ ไร้รูปร่างเช่น love, happiness ฯลฯ
(2) นามมวลที่ใช้เรียกชื่อวัตถุ อาหาร วิชา เกมส์กีฬา ต่าง ๆ
เช่น meat, sugar, biology, swimming ฯลฯ
(3) นามมวลที่นับไม่ได้ตลอด
เช่น advice, research, luggage, information,
equipment, behavior, scenery, commerce, money ฯลฯ
1.2.3 collective nouns (นามกลุ่มก้อน)
เป็นนามที่แสดงกลุ่มก้อนสิ่งต่าง ๆ
อาทิ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ เช่น family, team, crowd, group ฯลฯ
2. นามที่แบ่งโดยคำนึงถึงรูป นามแบบนี้ก็คือนามผสม (compound nouns)
ซึ่งเกิดจากการนำเอาคำตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปมารวมกัน
ได้แก่ นามที่เกิดจากการรวมตัวกันของ
2.1 Noun + Noun เช่น bushman (คนป่า)
caveman (มนุษย์ถ้ำ) engineeroom (ห้องเครื่อง)
2.2 Adjective + Noun เช่น bluebottle (แมลงวันหัวเขียว)
2.3 Verb + Noun เช่น sailfish (ปลากระโดง) pickpocket (ขโมย)
2.4 Gerund + Noun เช่น floating market (ตลาดน้ำ) sleeping car (รถนอน)
2.5 Noun + Gerund เช่น cloud-kissing (สูงเทียมเมฆ) board meeting (การประชุมกรรมการ)
2.6 Preposition + Noun เช่น downstream (ล่องลงตามน้ำ) by-election (การเลือกตั้งซ่อม)
2.7 Verb + Preposition เช่น breakthrough (การฟันฝ่าอุปสรรค) catchup (น้ำซอสชนิดคั้น)
2.8 Noun + Preposition phrase เช่น son - in - law (ลูกเขย) daughter-in-law (ลูกสะใภ้)
3. นามที่แบ่งโดยคำนึงถึงหน้าที่ ลักษณะนี้ จำแนกได้ 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ
3.1 Countable nouns (นามนับได้) สามารถนับได้เป็นชิ้น เป็นอัน เป็นตัว ฯลฯ มีได้ทั้งเอกพจน์และพหูพจน์ เช่น city, table, cars ฯลฯ
3.2 Uncountable nouns (นามนับไม่ได้) เป็นนามที่ไม่สามารถนับได้เป็นชิ้นเป็นอัน เป็นตัวได้แก่(1) นามที่เป็นชื่อก๊าซ เช่น Oxygen, carbon dioxide(2) นามที่เป็นชื่อของเหลว เช่น water, ink ,oil(3) นามที่เป็นชื่ออณูเล็กมาก เช่น dust, rice, sand(4) นามที่เป็นชื่อสาขาวิชา เช่น geology, biology, economics(5) นามที่เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น sunshine, darkness(6) นามที่เป็นชื่อแนวคิด อุดมคติ เช่น damage, love ,freedom
รวมสรุปแล้ว นามนับไม่ได้ มักจะเป็นนาม นามธรรม (abstract nouns) และนามมวล (mass nouns) นั่นเอง
ลักษณะพิเศษของนาม คำนามมีลักษณะพิเศษอยู่ 2 ประการคือ การเปลี่ยนนามนับได้จากรูปเอกพจน์เป็นพหูพจน์ และการสร้างนามให้อยู่ในรูปแสดงเจ้าของ ดังนี้1. นามนับได้เอกพจน์-พหูพจน์ การเปลี่ยนนามนับได้จากรูปเอกพจน์เป็นพหูพจน์ มีหลักเกณฑ์ดังนี้
1.1 เติม s ท้ายนามเอกพจน์ เช่น book - books, pen - pens, car - cars
1.2 เติม es ท้ายนามเอกพจน์ที่ลงท้ายด้วย s, x, z, ch, และ sh เช่น bus-buses, watch-watches, box-boxes
1.3 นามเอกพจน์ลงท้ายด้วย y การเปลี่ยนเป็นรูปพหูพจน์ขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ 2 ประการคือ
ก. หน้า y เป็นพยัญชนะ เปลี่ยน y เป็น i และเติม es เช่น company-companiesม, city-cities, lady-ladies
ข. หน้า y เป็นสระ a, e, i, o, u คง y ไว้แล้วเติม s เช่น day-days, key-keys, way-ways
1.4 นามเอกพจน์ลงท้ายด้วย o การเปลี่ยนเป็นรูปพหูพจน์ขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์สองประการคือ
ก. หน้า o เป็นพยัญชนะเติม es เช่น potato-potatoes, mango-mangoes, ยกเว้น ถ้าเป็นนามเกี่ยวกับเครื่องดนตรี หรือการดนตรี หรือคำยกเว้นบางคำ เติม s เช่นpiano-pianos, dynamo-dynamos, memo-memos, kilo-kilos, photo-photos
ข. หน้า o เป็นสระ เติม s เช่น radio-radios, studio-studios, zoo-zoos, cuckoo-cuckoos, bamboo-bamboos, kangaroo-kangaroos
1.5 เปลี่ยนนามเอกพจน์ลงท้ายด้วย f หรือ fe เป็น v แล้วเติม es เช่น half-halves, wife-wives, life-lives, calf-calves ยกเว้น นามบางคำเติม s โดยไม่มีการเปลี่ยน f หรือ fe แต่อย่างใด เช่น safe-safes, proof-proofs, chief-chiefs, brief-briefs
1.6 นามเอกพจน์บางคำเวลาเป็นพหูพจน์เปลี่ยนรูป ต้องจำ เช่น goose-geese, tooth-teeth, foot-feet, man-men, woman-women, child-children, mouse-mice, ox-oxen
1.7 นามบางคำมีรูปเหมือนกันทั้งเอกพจน์และพหูพจน์ เช่น deer-deer, sheep-sheep, species-species, series-series, trout-trout, means-means
1.8 นามบางตัวมีเพียงรูปเดียวคือ เอกพจน์ แม้ว่าจะเติม s เช่น news, statistics, mathematics, politics, mumps (คางทูม), ethics, economics, physics
1.9 นามต่อไปนี้เป็นพหูพจน์ตลอด เช่น glasses (แว่นตา) , tweezers (คีมเล็ก) ,tidings(ข่าวคราว) shorts (กางเกงขาสั้น), scissors(กรรไกร), saving(เงินออม), arms(อาวุธ), whiskers (หนวดเครา)
1.10 นามที่มาจากภาษาต่างประเทศ เช่น ละติน กรีก มีรูปพหูพจน์ต่างไปจากเดิม เช่น crisis-crises (วิกฤติการณ์) criterion-criteria (เกณฑ์), parenthesis-parentheses (วงเล็บ) medium-media (เครื่องมือ), datum-data (ข้อมูล) stimulus-stimuli (สิ่งเร้า), analysis-analyses (การวิเคราะห์)
2. นามแสดงเจ้าของ การสร้างคำนามให้อยู่ในรูปของการแสดงความเป็นเจ้าของ มีหลักเกณฑ์คือ
2.1 นามเอกพจน์
สามารถทำให้เป็นรูปแสดงการเป็นเจ้าของด้วยการเติม s ท้ายนาม Sunee's car, ous nations's flag, Nipon's books.
2.2 นามพหูพจน์
นามพหูพจน์ที่ลงท้ายด้วย s หรือ es ทำเป็นรูปแสดงเจ้าของโดยการเติม ' ท้ายนาม เช่น ladies' coats, girls' bicycles, soldiers' guns แต่หากนามพหูพจน์มิได้ลงท้ายด้วย s หรือ es ให้เติม 's เมื่อแสดงเจ้าของเช่น children's parents, women's dresses, men's jeans
2.3 นามผสม
ให้เติม 's ท้ายคำนามนั้น เช่น son-in-law's, books, daughter-in-law's house
2.4 เจ้าของร่วม
ในกรณีมีนามมากกว่า 1 คำ เมื่อนามแต่ละตัวนั้นแสดงความเป็นเจ้าของร่วมให้เติมนามตัวสุดท้าย เช่น Sunee and Nipon's car, Pim and Cha's motorcle
2.5 เจ้าของร่วม
หากแสดงความเป็นเจ้าของแยกกัน ต่างคนต่างมีส่วนเป็นเจ้าของในสิ่งนั้น หรือแต่ละคนก็มีสิ่งนั้น ให้เติม 's ท้ายนามแต่ละตัว เช่น Pim's and Cha's motorcycles, Sunee's and Nipon's car
ที่มา http://blog.eduzones.com/winny/3583

5 ความคิดเห็น:

  1. ดี ค่ะ

    ตอบลบ
  2. อยากรู้เรื่อง Pronoun ครับ

    ตอบลบ
  3. คำสรรพนาม ( Pronoun ) คือ คำที่ใช้แทนคำนาม หรือคำเสมอนาม ( nouns- equivalent ) เพื่อหลีกเลี่ยงการกล่าวถึงซ้ำซาก หรือแทนสิ่งที่รู้กันอยู่แล้วระหว่างผู้พูด ผู้ฟัง หรือแทนสิ่งของที่ยังไม่รู้ หรือไม่แน่ใจว่าเป็นอะไร
    คำสรรพนาม (pronouns ) ถูกแบ่งออกเป็น 7 ชนิด คือ
    1.Personal Pronoun ( บุรุษสรรพนาม ) อาธิเช่น I, you, we,they, he , she ,it
    2.Possessive Pronoun ( สรรพนามเจ้าของ ) อาธิเช่น mine, yours, his, hers, its,theirs, ours
    3.Reflexive Pronouns ( สรรพนามตนเอง ) เป็นคำที่มี – self หรือ – selves ลงท้าย อาธิเช่น myself, yourself,ourselves
    4.Definite Pronoun ( หรือ Demonstrative Pronouns สรรพนามเจาะจง ) อาธิเช่น this, that, these, those, one, such, the same
    5.Indefinite Pronoun ( สรรพนามไม่เจาะจง ) อาธิเช่น all, some, any, somebody, something, someone
    6.Interrogative Pronoun ( สรรพนามคำถาม ) อาธิเช่น Who, Which, What
    7.Relative pronoun ( สรรพนามเชื่อมความ ) อาธิเช่น who, which, that

    ตอบลบ
  4. pronoun เป็น 1 ใน 8 part of speech
    ...............................
    Part (พาร์ท) เป็น คำนาม แปลว่า ส่วน บริเวณ ส่วนประกอบ
    Speech (สพีช) เป็น คำนาม แปลว่า การพูด วิธีการพูด คำพูด
    ดังนั้น
    Part of Speech แปลว่า “ส่วนของคำพูด” หรือ “ชนิดของคำพูด” คำในภาษาอังกฤษทุกคำจะต้องเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของ Part of Speech ทั้งนั้น Part of Speech แบ่งออกเป็น 8 ชนิด ได้แก่

    1. Noun = คำนาม
    2. Pronoun = คำสรรพนาม
    3. Verb = คำกริยา
    4. Adverb = คำกริยาวิเศษณ์
    5. Adjective = คำคุณศัพท์
    6. Preposition = คำบุพบท
    7. Conjunction = คำสันธาน
    8. Interjection = คำอุทาน

    ตอบลบ